สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 7 คน
 สถิติเมื่อวาน 247 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
401 คน
27192 คน
2738720 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


ถามต่อจาก 668 เรื่องน้ำรั่วค่ะ
จะต้องพิจารณาว่า จุดที่น้ำรั่วลงมาเป็นพื้นที่ทรัพย์ส่วนบุคคล (ภายในห้องชุด) หรือรั่วจากจุดที่เป็นพื้นที่ส่วนกลาง (ทางเดิน,ระเบียง) หากเป็นพื้นที่ทรัพย์ส่วนบุคคล เจ้าของห้องชุดจะต้องรับผิดชอบ แต่หากเป็นพื้นที่ที่เป็นทรัพย์ส่วนกลาง นิติบุคคลฯ จะต้องรับผิดชอบ คือช่างนิติฯบอกว่าเป็นห้องน้ำ แต่ห้องข้างล่างบอกตรงระเบียงค่ะ ถามในกรณีถ้าเป็นห้องน้ำ ถ้าเราไม่ได้ซ่อมแซมต่อเติมอะไรเลย ตามสภาพที่ซื้อมาเลย เจ้าของห้องชั้นล่างต้องร่วมออกค่าซ่อมด้วยไม๊คะ เพราะอ่านในกฎหมายอาคารชุดบอกว่าพื้นกับเพดานเป็นทรัพย์สินร่วมกันเหมือนผนังระหว่างห้องหรือไม่คะ เนื่องจากนิติฯมีจดหมายมาว่าห้องเราทำให้ชั้นล่างเดือดร้อนแล้วไม่ทำอะไรเลย แต่เราได้ซ่อมให้ไปแล้วตอนแรก และบอกให้มาตกลงกัน แต่เค้าจะให้เราซ่อมคนเดียวเลย ทีนี้จะทำอย่างไรคะ คือดำเนินเรื่องตามกฎหมาย นี่คือต้องขึ้นศาลใช่ไม๊คะ คือกลัวว่าไม่มีเวลาไป ต้องเสียค่าปรับไม๊คะ
โดย มน IP: xxx [ 2012-03-12 ]

คำตอบจาก Webmaster
"ห้องชุด" หมายความว่า ส่วนของอาคารชุดที่แยกการถือกรรมสิทธิ์ออกได้เป็นส่วนเฉพาะของแต่ละบุคคล
"ทรัพย์ส่วนกลาง" หมายความว่า ส่วนของอาคารชุดที่มิใช่ห้องชุด ที่ดินที่ตั้งอาคารชุดและที่ดินหรือทรัพย์สินอื่นที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันสำหรับเจ้าของร่วม
(บทนิยามในมาตรา 4 แห่งพรบ.อาคารชุด พ.ศ. 2522)

ห้องน้ำอยู่ในห้องชุด จึงเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลมิใช่ทรัพย์ส่วนกลาง เมื่อน้ำรั่วจากห้องน้ำชั้นบนลงมาชั้นล่าง ไม่ว่าชั้นล่างจะเป็นห้องน้ำหรือระเบียง เจ้าของห้องชุดชั้นบนจะต้องรับผิดชอบ

กฎหมายระบุว่า "พื้นห้อง ผนังกั้นห้องที่แบ่งระหว่างห้องชุดใด ให้ถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์รวมของเจ้าของร่วมระหว่างห้องชุดนั้น..(มาตรา 13 วรรค 2) กฎหมายบัญญัติให้ถือกรรมสิทธิ์รวมเท่านั้น มิได้ระบุว่า หากเกิความเสียหายจากห้องน้ำชั้นบนแล้ว ห้องชั้นล่างจะต้องร่วมรับผิดชอบซ่อมแซมด้วย

หากไม่ซ่อมแซมให้เขา ๆ ก็อาจจะใช้สิทธิทางศาลฟ้องบังคับให้คุณซ่อมหรือเขาซ่อมเองแล้วเรียกค่าซ่อมกับคุณก็ได้ ควรซ่อมแซมให้เขาเสีย กรณีนี้ไม่มีค่าปรับเพราะเป็นเรื่องทางแพ่งและเป็นเรื่องระหว่างเจ้าของห้องชุดด้วยกัน
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2012-03-14 ] ตอบ 701
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.