สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 3 คน
 สถิติเมื่อวาน 73 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
551 คน
27342 คน
2738870 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


เรียกเก็บค่าจอดรถโดยไม่รอมติ

คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดมีอำนาจสามารถออกระเบียบตั้งอัตราค่าจอดรถยนต์และเรียกเก็บได้ตามอำเภอใจ โดยไม่ได้ผ่านมติความเห็นชอบจากเจ้าของร่วมในที่ประชุมใหญ่ได้หรือไม่


ถ้าเขาทำไม่ได้ เจ้าของร่วมสามารถขัดขืนอารยะต่อระเบียบดังกล่าวได้อย่างไรบ้าง


พวกเขาโดยคำแนะนำของผู้จัดการอ้างว่า เป็นแค่ระเบียบไม่ใช่ข้อบังคับ ดังนั้นพวกเขาปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาโดยมติของพวกเขาเอง แต่กระผมเห็นว่า


" นี่เป็นการจัดการบนพื้นที่ส่วนกลาง  มีผลกระทบต่อส่วนรวม น่าจะถือเป็นสาระสำคัญที่ต้องมีในข้อบังคับตามมาครา 32  การเปลี่ยนแปลงใดๆในการใช้ทรัพย์ส่วนกลาง หรือการจัดหาประโยชน์ในทรัพย์ส่วนกลาง  ค้องใช้มติจากที่ประชุมใหญ่ ตามที่พรบ.กำหนดไว้  ไม่ใช่พิมพ์ออกมาแปะบนบอร์ดแล้วบังคับใช้ได้เลย


    ขอความกรุณาให้ความรู้เป็นวิทยาทานด้วยครับ

โดย ท.พ.ศุภชัย (ip110.168.135.64) อี-เมล์ ท.พ.ศุภชัย (ip110.168.135.64) เบอร์โทรศัพท์. ท.พ.ศุภชัย IP: xxx [ 2012-04-02 ]

คำตอบจาก Webmaster

การนำพื้นที่ส่วนกลางมาใช้เป็นที่จอดรถและเรียกเก็บเงิน แม้เงินจะเข้านิติบุคคลอาคารชุด แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการจัดหาผลประโยชน์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 48 (7) จะต้องได้รับมติจากที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมด ในกรณีที่เจ้าของร่วมเข้าประชุมมีคะแนนเสียงไม่ครบ จะต้องจัดประชุมใหม่ภายใน 15 วันนับแต่วันเรียกประชุมครั้งก่อน และมติเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวจะต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนคะแนนเสียงของวเจ้าของร่วมทั้งหมด ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551


เมื่อการกระทำดังกล่าวไม่ได้รับมติจากที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าว จึงไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย คณะกรรมการฯ ไม่มีอำนาจออกระเบียบตั้งค่าจอดรถยนต์ได้ เพราะกฎหมายให้สิทธิที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมเท่านั้น ไม่ได้ให้สิทธิคณะกรรมการที่จะกระทำเช่นนั้นได้ เจ้าของร่วมมีสิทธิขัดขืนได้เพราะมติของคณะกรรมการฯ ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2012-04-04 ] ตอบ 715
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.