สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 39 คน
 สถิติเมื่อวาน 52 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4922 คน
26638 คน
2738166 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การยื่นขอเอกสารสิทธิ์เฉพาะราย
1.ถ้าที่ดินเป็นประเภทที่ดินมือเปล่า หรือครอบครองและเข้าทำประโยชน์หลังพ.ศ 2497 จะขอออกโฉนดหรือ น.ส3 เองเป็นไปได้ไหมค่ะ
2.ถ้าทำได้ ตามข้อ1.ทำไมคนแถวบ้านยังไม่มีใครมีเอกสารสิทธิ์ประเภทโฉนดหรือ น.ส3เลยซักคนละค่ะ พวกเขาเหล่านั้นล้วนเป็นเกษตรกร ลูกหลานก็พอมีการศึกษา
3.ก่อนซื้อที่ดินมือเปล่า เข้าใจว่าต้องให้คนขายยื่นขอเอกสารสิทธิ์ก่อน แล้วจึงซื้อ แล้วทำไมคนขายมักไม่ทำกันทั้งๆ ที่ราคาหลังและก่อนมีเอกสารสิทธิ์ต่างกันลิบลับ!
4.ดิฉันข้องใจค่ะ คิดว่าการยื่นขอเอกสารสิทธิ์เฉพาะรายน่าจะเป็นเรื่องที่เกินจริง และไม่เป็นรูปธรรม แค่สงสัยนะค่ะ! ยังไม่มีประสบการณ์ ผิดพราดยังไง ช่วยแนะนำด้วยนะค่ะ
5.ถ้าทำได้จริง และเป็นรูปธรรม ดิฉันขอทราบขั้นตอนการยื่นขอเอกสารสิทธิ์ประเภทโฉนด จากที่ดินมือเปล่าประเภทที่อยู่อาศัย ตั้งแต่ปี
พ.ศ.2528 ค่ะ
ขอบพระคุณค่ะ
โดย Taiyaa IP: xxx [ 2012-05-25 ]

คำตอบจาก Webmaster
1.เป็นไปได้ หากคุณมี ส.ค. 1 เพราะประมวลกฎหมายที่ดินบังคับให้ต้องแจ้งการครอบครองภายใน 180 วันนับจากประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ เมื่อไม่ได้แจ้งภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จึงไม่สามารถที่จะขอออกโฉนดเป็นการเฉพาะรายได้
2.-
3. เพราะเขาไม่มี ส.ค.1 ที่จะไปขอออกเอกสารสิทธิ
4. -
5. คงต้องเริ่มจากการมีเอกสารสิทธิ์ประเภท ส.ค.1 ก่อน หากยื่น ณ ปัจจุบันนี้จะต้องมีคำสั่งศาลมาแสดงว่าได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินมาก่อน เจ้าหน้าที่จึงจะดำเนินการให้ได้
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2012-05-26 ] ตอบ 751
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.