สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 577 คน
 สถิติเมื่อวาน 70 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
1195 คน
27986 คน
2739514 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การเลี่ยงวิธีการขายหลังจัดสรร

คำถาม   -  โครงการยื่นที่ดืนเพื่อขอจัดสรรภายใต้ผังเมืองที่กำหนดให้แบ่งแยกแปลงย่อยเพื่อขายต้องไม่ต่ำกว่าแปลงละ 100 ตรว.  โดยโครงการยื่นตามเงื่อนไขจัดสรร   แต่ทราบว่าในการดำเนินการด้านการขายโครงการจะใช้วิธีเลี่ยง  ดังนี้.-       *  จะทำการขายบ้านเดี่ยว พร้อมี่ดินแบ่งเป็น 2 แปลง  บนแปลง 100 ตรว. โดยอาจจะแบ่งเป็น  50 ตรว.+ 50  ตรว. //  60 ตรว.+40 ตรว. หรือ  70 ตรว.++30 ตรว. เป็นต้น (แล้วแต่จะแบ่งแยก)  โดยเมื่อก่อสร้างบ้าน 2 หลัง บนที่ดิน 100 ตรว.เสร็จก็จะไปโอนซื้อขายหรือปลอดจำนอง ณ กรมที่ดิน โดยใช้วิธี โอนในนามกรรมสิทธิร่วมก่อน  แล้วต่อมาจึงยื่นเรื่องขอแบ่งแยกโฉนดออกเป็นแปลงย่อย 2 แปลง  ตามที่ผุ้ซื้อได้ทำการซื้อขายไว้  กรณีดังกล่าวขอรบกวนสอบถามดังนี้.-


 1. ที่ดินท้ง 2 แปลง ยังอยู่ภายใต้การจัดสรรหรือไม่


 2. วิธีเลี่ยงของโครงการดังกล่าวถือว่าโครงการปฏิบัติผิดต่อข้อกฎหมายจัดสรรหรือไม่  


 3. จะมีผลกระบต่อผุ้บริโภค(ผู้ซื้อ) หรือไม่   


 4. ปัญหาด้านการถือครองใบอนุญาตก่อสร้างของผู้ซื้อจะมีหรือไม่ เนื่องจากอาจมีใบอนุญาตเพียงฉบับเดียว 


5. การขอออกเลขที่บ้านของผุ้ซื้อทั้ง 2 รายจะมีปัญหาต่อรายใดรายหนึ่งหรือไม่ เพราะอาจขอออกเลขที่บ้านได้เพียง เลข แต่มีบ้าน  2 หลังและกรรมสิทธิแยกกัน


6. ปัญหาด้านการร้องเรียนของผู้บริโภคอาจเกิดขึ้นได้หรือไม่หากโครงการไม่กำหนดให้ชัดเจนเมื่อมีการซื้อขาย


7. สมมุตโครงการเมื่อตอนยื่นจัดสรรมี 50 แปลง ๆละ 100 ตรว. ตามระเบียบผังเมือง  แต่เมื่อโครงการขายหมดโครงการจะมีที่ดินทั้งหมดจากแบ่งแยก  100 แปลง  กรณีดังกล่าวถือว่าโครงการอยู่ในกฎหมายจัดสรรหรือไม่   และจะส่งผลกระทบด้านอื่นๆต่อโครงการในด้านข้อกฎหมายหรือไม่


8. การโอนเปลี่ยนมือหรือการขายต่อของผุ้ถือกรรมสิทธิ์จะมีผลกระทบหรือไม่ เพราะกาลยเป็นแปลงขนาด 50 ตรว. บ้าง 30 ตรว.บ้าง


9. โปรดให้คำแนะนำในความเสี่ยงต่อผู้บริโภคในประเด็นต่างๆที่สำคัญ


   ขอบคุณครับ                                              


 

โดย ผู้ไม่รู้ (ip61.19.54.22) อี-เมล์ ผู้ไม่รู้ (ip61.19.54.22) เบอร์โทรศัพท์. ผู้ไม่รู้ IP: xxx [ 2012-06-22 ]

คำตอบจาก Webmaster
1. สมมติว่า โฉนดที่ออกตามผังจัดสรรเป็นโฉนดเลขที่ 1234 มีเนื้อที่ 50 หรือ 60, 70 ตรว. ก็แล้วแต่ เมื่อแบ่งแยกแปลงย่อยออกไปเป็นโฉนดเลขที่ 5678 จะมีเนื้อที 50,40,30 ตรว.ก็เช่นกัน ผู้ถือกรรมสิทธิ์โฉนดเลขที่ 1234 เท่านั้นที่อยู่ภายใต้กฎหมายจัดสรร มีสิทธิเป็นสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ส่วนผู้ที่ถอกรรมสิทธิ์โฉนดแปลงย่อยที่แบ่งแยกออกจากโฉนดแปลงแม่ คือ โฉนดเลขที่ 5678 จะไม่มีสิทธิเป็นสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้เลยและเป็นที่ดินที่ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายจัดสรร เพราะโฉนดที่ออกมา ไม่ได้ออกมาจากผังจัดสรร
2-3. ถือว่า ผิดเพราะทำให้ผู้ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 5678 เสียสิทธิ ไม่ได้เป็นสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และมีสิทธิที่จะไม่ต้องชำระค่าส่วนกลางให้กับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่จะจัดตั้งขึ้นในอนาคตเพราะไม่ได้เป็นสมาชิก ก่อให้เกิดปัญหาในการบริหารงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งเจ้าของโครงการอาจหาทางแก้โดยหาเหตุทำให้ไม่ต้องตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เพื่อจะยกถนนในโครงการให้เป็นสาธารณะ ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรก็จะเสียความเป็นส่วนตัวไป เพราะบุคคลภายนอกมีสิทธิเข้ามาใช้ถนนในโครงการได้เพราะเป็นถนนสาธารณะ การบำรุงรักษาถนนและสวนสาธารณะขึ้นกับองค์กรปกครองท้องถิ่นนั้น ๆ
4-5. ไม่มีปัญหาเพราะทางโครงการจะขออนุญาตปลูกสร้าง 2 แปลงบนที่ดินแปลงเดียวได้ และนำใบอนุญาตฯ ไปขอเลขที่บ้าน 2 เลขที่ได้
6. แน่อน เพราะกระทบสิทธิของผู้บริโภคที่ซื้อที่ดินแปลงแบ่งย่อยโฉนดเลขที่ 5678 ที่แบ่งแยกมาจากโฉนดที่ออกตามแผนผังจัดสรร (โฉนดแปลง 1234
7. ตอบแล้วตามข้างต้น
8. ไม่กระทบ
9. กรณีข้างต้นน่าจะมีปัญหาในเรื่องการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เพราะหากลูกบ้านที่ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ออกตามผังจัดสรร รวมตัวกันจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้ ก็จะไม่มีสิทธิเรียกเก็บจากผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงย่อยที่แบ่งแยกออกมาจากโฉนดที่ดินที่ออกตามผังจัดสรร ก่อให้เกิดปัญหาในการบริหารงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเพราะไม่สามารถเก็บเงินจากลูกบ้านที่ถือโฉนดแปลงย่อยได้ ฝ่ายสมากที่ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ออกมาตามผังก็ไม่อยากจ่าย เพราะฝ่ายแปลงย่อยไม่จ่าย สุดท้ายก็จะทำลายสภาพแวดล้อมในการพักอาศัย แต่หากจัดตั้งไม่ได้ และต้องยกเป็นสาธารณธก็จะเสียความเป็นส่วนตัวไป ถนนหนทางชำรุดเสียหายจะซ่อมแซมก็ต้องไปขอให้ทางเขตมาซ่อมแซมให้ หากเขตไม่มีงบประมาณ ถนนก็จะชำรุดทรุดโทรมในสภาพเช่นนั้น รวมทั้งสาธารณูปโภคอื่น ๆ อีกด้วย

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2012-06-24 ] ตอบ 761
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.