สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 93 คน
 สถิติเมื่อวาน 52 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4976 คน
26692 คน
2738220 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


ออกระเบียบเก็บที่ค่าจอดรถส่วนกลางหรือเปลียนแปลงระเบียบโดยมติกรรมการได้หรือไม่
นิติบุคคลอาคารชุด อ้างมติที่ประชุมใหญ่ เห็นชอบให้กรรมการฯ จัดเก็บค่าที่จอดรถตามความเหมาะสม นิติฯ สามารถกำหนดระเบียบข้อบังคับเก็บค่าที่จอดรถซึ่งที่จอดรถเป็นทรัพย์ส่วนกลาง โดยใชิมติกรรมการได้หรือไม่ มติดังกล่าวขัดกับ มาตรา 48 (4) “ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้หรือการจัดการทรัพย์ส่วนกลางทุกครั้ง ต้องได้รับคะแนนเสียงลงมติ ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของเจ้าของร่วมทั้งหมด ในที่ประชุมใหญ๋ การออกระเบียบเก็บค่าที่จอดรถทั้งทีึ่เป็นที่จอดรถส่วนกลางต้องใช้มติที่ประชุมใหญ่ทุกครั้งหรือไม่
โดย อินทวัต (ip58.11.101.94) อี-เมล์ อินทวัต (ip58.11.101.94) เบอร์โทรศัพท์. อินทวัต IP: xxx [ 2012-07-03 ]

คำตอบจาก Webmaster
- เป็นคำถามที่โดนใจผม และอยากตอบมากเหตุเพราะคณะกรรมการอาคารชุดในคอนโดที่ลูกสาวผมอยู่ ได้ประชุมคณะกรรมการฯ และมีมติออกมาว่า เจ้าของห้องชุดมีสิทธิจอดรถได้ 1 คัน หากมีรถมากกว่า 1 คันจะต้องชำระค่าจอดรถให้นิติบุคคลอาคารชุดคันละ 2,500.- บาทต่อเดือนและ ออกระเบียบเพิ่มเติมอีกว่า แขกผู้มาเยือนจอดรถฟรีได้ 2 ชั่วโมง ถ้าเกินนั้นก็เรียกเก็บอีกชั่วโมงละเท่านั้นเท่านี้บาท เป็นต้น

- ต่อกรณีปัญหาของคุณมีข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้นว่า มติที่ประชุมใหญ่เห็นชอบให้คณะกรรมการจัดเก็บค่าที่จอดรถตามความเหมาะสม คำตอบคือ มติที่ประชุมใหญ่ที่มอบอำนาจให้คณะกรรมการจัดเก็บค่าที่จอดรถดังกล่าวนั้นเป็นมติที่ขัดต่อกฎหมาย อีกทั้งการจัดเก็บค่าใช้จ่ายดังกล่าว จะต้องได้รับมติจากที่ประชุมใหญ่ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของคะแนนเสียงทั้งหมดในคอนโด หาการประชุมครั้งแรกคะแนนเสียงไม่ครบ จะต้องเรียกประชุมใหม่และในการประชุมครั้งหลังจะต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมในคอนโดทั้งหมด จึงจะมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย

- อนึ่ง ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดในพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ที่ให้อำนาจที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมให้สิทธิคณะกรรมการฯ ไปกำหนดอัตราเ้รียกเก็บค่าที่จอดรถได้ อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายฉบับดังกล่าวเช่นเดียวกันที่ให้อำนาจคณะกรรมการฯ มีมติเรียกเก็บค่าจอดรถได้เอง โดยไม่ต้องผ่านมติที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม มติของคณะกรรมการฯ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าของร่วมจึงมีสิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นได้

- จริง ๆ แล้ว กรณีดังกล่าว เป็นการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการจัดเก็บค่าใช้จ่ายตามมาตรา 48 (5) ครับ ใช้คะแนนเสียงเช่นเดียวกันกับมาตรา 48 (4) เพราะอยู่ในมาตราเดียวกัน ดังนั้น จึงต้องใช้มติที่ประชุมใหญ่ทุกครั้ง

- ปัจจุบัน เป็นปัญหาค่อนข้างมากที่คณะกรรมการฯ คิดว่า ตนเองมีอำนาจที่จะทำอะไรก็ได้ ลงมติอย่างไรก็ได้ โดยไม่พิจารณาข้อกฎหมาย เมื่อลูกบ้านไม่จ่าย ก็ส่งเรื่องให้ทนายฟ้อง พอแพ้คดีมา นิติฯ ไม่ได้อะไร เสียเงินจ้างทนาย เสียค่าธรรมเนียมศาลไปฟรี ๆ เงินที่ไปจ้างทนายก็เป็นเงินที่เรียกเก็บมาจากลูกบ้านทั้งนั้น ต่อไปลูกบ้านน่าจะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากคณะกรรมการบ้างฯ ก็น่าจะดี ที่ออกลงมติและ/หรือออกระเบียบโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำให้ลูกบ้านเสียหายในการนำเงินลูกบ้านไปจ้างทนายฟ้องคดี จะปฏิเสธว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้เพราะทุกคนต้องรู้กฎหมาย

- หากสั่ง รปภ.กักรถไม่ยอมให้รถออกจากคอนโดเพราะรถคันนั้นไม่ยอมจ่ายค่าจอดรถส่วนที่เกินสิทธิ ก็อาจจะถูกลูกบ้านฟ้องเป็นคดีอาญาเกี่ยวกับความผิดต่อเสรีภาพเอาง่าย ๆ อีกต่างหาก


โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2012-07-03 ] ตอบ 772
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.