สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 145 คน
 สถิติเมื่อวาน 597 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
1360 คน
28151 คน
2739679 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การตกลงเรื่องภาระจำยอม(ไม่มีค่าตอบแทน) จดไว้แล้ว แต่มีคนไปจดต่ออีก
เมื่อปี 2551 นาย ก. ทำเรื่องภาระจำยอม เนื่องจาก นาย ก ต้องการเอาที่ดินของตนเอง ไปค้ำประกันเงินกู้ธนาคารกรุงเทพ โดย นายก. เป็น สามานยทรัพย์ นาย ขและนาย ค เป็นภารยทรัพย์ ในที่ดินโฉนดทางเดินร่วมกันที่ติดกับที่ดินของนาย ก. ต่อมา นาย ข ต้องการทำเรื่องภาระจำยอมแบบเดียวกันในที่ดินทางเดินร่วมที่มีชื่อกันเป็นเจ้าของ สามคน ซึ่ง นาย ก. เป็นสามานยทรัพย์อยู่ ในวันที่ 1 สิืงหาคม 2555 เพื่อที่จะเอาที่ดินของนาย ข เอง ไปค้ำประกันเงินกู้จากธนาคารกสิกร ถ้านายข .ไปทำเรื่องภาระจำยอม นาย ข จะกลายเป็นสามานยทรัพย์ แทนนาย ก.เลยหรือไม่ แล้วนายก.และนายค. ก่จะกลายเป็น ภารยทรัพย์ทันทีเลยหรือไม่ และนาย ข. จะได้สิทธิ์อะไรบ้างในที่ดินทางเดินร่วมนี้ นาย ก. ยังผ่อนหนี้เงินกู้กับธนาคารกรุงเทพ ไม่หมด จะทำให้โดนยึดที่ดินที่นาย ก. ไปค้ำประกันกับธนาคารกรุงเทพไว้หรือไม่
โดย พัฒน์ (ip61.90.120.37) อี-เมล์ พัฒน์ (ip61.90.120.37) เบอร์โทรศัพท์. พัฒน์ IP: xxx [ 2012-07-14 ]

คำตอบจาก Webmaster
เรื่องภาระจำยอมนั้นเป็นทรัพยสิทธิที่ติดกับที่ดิน ไม่ได้ติดกับบุคคลผู้เป็นเจ้าของที่ดิน หากผู้เป็นเจ้าของที่ดินแปลงภารยทรัพย์ไปจดทะเบียนภาระจำยอมให้กับที่ดินอีกแปลงหนึ่งซึ่งเป็นสามายทรัพย์ ที่ดินแปลงภารยทรัพย์ก็จะตกอยู่ภายใต้ภาระจำยอมเรื่องทางเดินของที่ดินแปลงสามยทรัพย์ตลอดไป แม้ที่ดินแปลงภารยทรัพย์ หรือแปลงสามายทรัพย์จะมีการเปลี่ยนเจ้าของไปกี่คนก็ตาม เพราะภาระจำยอมเป็นสิทธิที่ติดกับที่ดิน เมื่อผิดนัดชำระหนี้เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิที่จะยึดที่ดินแปลงที่จำนองเป็นประพกันหนี้ออกขายทอดตลาดได้ตามกฎหมาย
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2012-07-15 ] ตอบ 782
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.