สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 62 คน
 สถิติเมื่อวาน 52 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4945 คน
26661 คน
2738189 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


เรื่อง ที่ดินยังไม่โอนออกจากคนตายสามารถขายหรือจำนองได้หรือไม่
แม่ดิฉันมีลูก2 คนยังไม่ได้โอนที่ดินให้ใคร แต่เสียชีวิตเสียก่อน แม่ได้โอนลอยที่ดินไว้ให้คนที่1 บางส่วน แล้วเค้าสามารถที่จะใช้สิทธิอะไรได้บ้าง
- ลูกคนที่1 แอบไปโอนที่ดินเป็นกรรมสิทธิของตนเองได้หรือไม่, สามารถขายหรือจำนองโดยที่ลูกอีกคนไม่รู้ได้หรือไม่
- ที่ติดจำนอง ธกส. อยู่ ถ้าแบ่งที่ดินกันแล้วสามารถโอนได้หรือไม่
โดย แอม (ip124.122.174.136) อี-เมล์ แอม (ip124.122.174.136) เบอร์โทรศัพท์. แอม IP: xxx [ 2012-09-12 ]

คำตอบจาก Webmaster
กรณีโอนลอย ผมเข้าใจว่า คุณแม่น่าจะเซ็นหนังสือมอบอำนาจเปล่าและมอบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านให้ไว้ ลูกคนที่ 1 สามารถนำเอกสารดังกล่าวไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิเป็นของตนเองได้ เมื่อโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของตนเอง ก็สามารถที่จะขายหรือจำนองโดยที่ลูกอีกคนไม่รู้เรื่องก็เป็นไปได้

แต่โดยที่ที่ดินติดจำนองกับ ธกส. อยู่ หากลูกคนที่ 1 จะโอนกรรมสิทธิ์มาเป็นของตนเองก็สามารถทำได้ในวิธีใดวิธีหนึ่งใน 2 วิธี คือ
1. ชำระหนี้ ธกส. ทั้งหมด เพื่อไถ่ถอนจำนอง แล้วนำเอกสารโอนลอยที่คุณแม่ให้ไว้ โอนที่ดินมาเป็นของตนเอง หรือ
2. โอนกรรมสิทธิ์ระหว่างจำนองโดยรับภาระหนี้ที่คุณแม่ติดจำนองกับ ธกส.ทั้งหมด ซึ่ง ธกส. จะต้องออกหนังสือยินยอมให้โอนกรรมสิทธิ์จำนองให้ จึงจะจดทะเบียนมาเป็นของลูกคนที่ 1 ได้

ที่ดินติดจำนองกับ ธกส. หาก ธกส. ออกหนังสือยินยอมให้แบ่งแยกที่ดิน เมื่อแบ่งแยกแล้วก็สามารถโอนได้ โดยที่ดินที่แบ่งแยกแล้วจะติดจำนองทุกแปลง (ครอบจำนอง) ซึ่ง ธกส. ก็จะต้องออกหนังสือยินยอมให้โอนกรรมสิทธิ์ระหว่างจำนองเช่นเดิม
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2012-09-12 ] ตอบ 822
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.