สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 4 คน
 สถิติเมื่อวาน 52 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4887 คน
26603 คน
2738131 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การล่ารายชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมเพื่อให้ได้มติเสียง

เรียนท่านอาจารย์ ผมขอทราบข้อกฎหมายเกี่ยวกับอาคารชุดฯ ดังข้อความด้านล่างครับ


เรื่องมีอยู่ว่า ผจก.นิติบุคคลอาคารชุดฯ ได้จัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีขึ้น ซึ่งในการประชุมดังกล่าวได้มีวาระการประชุมเรื่องของการพิจารณาเก็บเงินเพิ่มเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมลิฟท์ และเปลี่ยนท่อประปาทั้งหมดของอาคาร ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้ง 2 รายการนี้ ค่อนข้างสูง จึงขอให้ในที่ประชุมช่วยพิจารณาเก็บเงินแต่ละห้องเพิ่มจากค่าส่วนกลางปกติ โดยเฉลี่ยเก็บรายเดือนไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะครบตามจำนวนค่าใช้จ่ายดังกล่าว


ซึ่งการประชุมครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ไม่สามารถหามติเสียงตาม พรบ.อาคารชุด ได้ จึงใช้วิธีล่ารายชื่อ โดยให้เจ้าหน้าที่ของนิติฯ เดินเคาะตามห้องเพื่อขอให้ลงลายมือชื่อ และอีกวิธีก็คือวางไว้ในนิติฯ แล้วขอให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมลงลายมือชื่อตอนที่เข้าไปชำระค่าส่วนกลาง เพื่อให้ได้มติเสียงครบตาม พรบ.


ทั้งนี้ ในการกระทำดังกล่าว ผจก.นิติฯ อ้างว่า หากไม่ทำวิธีนี้จะไม่สามารถได้มติเสียง ซึ่งผมมองว่าการกระทำดังกล่าวน่าจะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หากจะเปรียบการเลือกตั้งทั่วไป ก็เหมือนเป็นการขอเสียงนอกคูหาเลือกตั้งซะมากกว่า เพราะการประชุมได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่มีการขอเสียงในภายหลัง เพื่อให้ได้มาซึ่งมติเสียง แล้วนำเอกสารที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมได้ลงลายมือชื่อนั้นไปประกอบหรือสมอ้าง ว่าเป็นมติเสียงแล้ว


จึงขอเรียนสอบถามท่านอาจารย์ว่า การกระทำด้วยวิธีดังกล่าว ผจก.นิติฯ สามารถกระทำได้หรือไม่ และถือว่าเป็นการผิดกฎหมายหรือไม่ อย่างไร


ในฐานะที่ผมเป็นผู้อาศัยอยู่ในคอนโดมาหลายปี มีความประสงค์อยากแชร์ประสบการของตัวผมเอง เพื่อเป็นข้อมูลแลเป็นอุทาหรณ์ให้ผู้ที่เตรียมตัวหรือจะกำลังจะตัดสินใจซื้อ ตลอดจนผู้ที่อาศัยอยู่คอนโดอยู่แล้วจะได้พึงระวัง จึงขอให้ท่านอาจารย์แนะนำ ว่าผมควรจะติดต่อกับใคร ที่ไหน ได้บ้าง เพื่อจะให้กระจายข้อมูลได้ทั่วถึงมากที่สุดครับ ขอกราบขอบพระคุณอย่างสูงอีกครั้ง

โดย คนแม่เย็น IP: xxx [ 2012-10-01 ]

คำตอบจาก Webmaster
กรณีดังกล่าวถือไม่ได้ว่า เป็นการออกเสียงในที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม จึงเป็นมติที่ไม่ชอบ เจ้าของร่วมมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนได้

การกระทำของผู้จัดการนิติฯ เป็นการกระทำนอกเหนือจากหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจ ส่วนจะถือว่าเป็นการผิดกฎหมายหรือไม่นั้น ไม่น่าจะถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมายเนื่องจากเจตนาของผู้จัดการไม่ได้เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย อันจะเป็นความผิดทางอาญา เพียงแต่เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอาคารชุด (เพราะมิใช่เป็นการลงมติในที่ประชุม) ซึ่งเป็นเหตุให้เจ้าของร่วมฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุมได้

ส่วนประเด็นสุดท้าย ไม่ทราบว่าจะให้ติดต่อกับใคร หากจะกระจายข้อมูลก็ควรส่งเรื่องให้สมาคมอาคารชุดไทยหรือไม่ก็สมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทยช่วยกระจายข้อมูลให้
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2012-10-01 ] ตอบ 825
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.