สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 61 คน
 สถิติเมื่อวาน 76 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2526 คน
29317 คน
2740845 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การจำนองที่ดิน

ดิฉันเคยถามในเว็บของศูนย์กฏหมายเพื่อประชาชนแล้วค่ะ เห็นเว็บไซด์คุณก็เลยมาถามที่นี่ค่ะ


ปู่ของดิฉันจำนองที่ดินไว้กับเจ้าหนี้ที่กรมที่ดิน และไม่เคยส่งต้นและดอก จนคุณปู่เสียชีวิต ซึ่งพ่อของดิฉันก็ไม่ทราบเรื่อง จนได้หมายศาลให้ไปขึ้นศาลค่ะ ซึ่งศาลฟ้อง 2 คน คือพ่อของดิฉัน และคุณอา คุณปู่จำนองที่ดินไว้ 9 ไร่ เงินต้น+ดอก ก็ 1.7 ล้าน หากขายทอดตลาดไม่พอ ต้องใช้ทรัพย์ใดบ้าง เนื่องจาก
     1.คุณพ่อมีที่ดินที่เป็นชื่อคุณพ่ออีก
     2.คุณพ่อจดทะเบียนสมรสกับคุณแม่ ที่ดินที่เป็นชื่อคุณแม่จะโดนยึดขายทอด  ตลาดด้วยไหม
      3.และให้ไปขึ้นศาลตามหมายใช่ไหมค่ะ
      4.ฝ่ายจำเลยต้องมีทนายความไหม
      5.จริง ๆ แล้วอยากขายทอดตลาดแต่กลัวขายแล้วไม่พอจ่าย ปกติขายทอดตลาดจะขายต่ำกว่าราคาประเมินที่ดินไหม
      6.คุณพ่อเป็นข้าราชการทหาร กลัวจะโดยอายัดเงินเดือนด้วยค่ะ
ช่วยตอบด้วยค่ะ
ขอบคุณค่ะ

โดย anny อี-เมล์ anny เบอร์โทรศัพท์. anny IP: xxx [ 2009-06-27 ]

คำตอบจาก Webmaster
เรียน คุณ anny

1. กรณีขายทอดตลาดแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็จะทำการสืบทรัพย์(ยื่นคำร้องขอตรวจสอบกรรมสิทธิ์ที่ดินที่สำนักงานที่ดิน) ณ สำนักงานที่ดินที่เจ้าหนี้เชื่อว่า คุณปู่ของคุณมีที่ดินอยู่อีก ในทางปฏิบัติก็สืบยากเหมือนกันเพราะข้อมูลของกรมที่ดินไม่ on line ทั่วประเทศ เจ้าหนี้จะต้องสุ่มตรวจตามสำนักงานที่ดินแต่ละแห่งไปที่คาดว่า คุณปู่น่าจะมีที่ดินอยู่ในเขตสำนักงานที่ดินนั้น
กรณีที่ดินเป็นชื่อของคุณพ่อคุณ มิใช่ที่ดินที่คุณพ่อคุณได้รับมรดกมาจากคุณปู่ เจ้าหนี้ก็ไม่มีสิทธิที่จะยึดทรัพย์มาขายทอดตลาดได้ กรณีที่จะยึดได้จะต้องปรากฏว่าเป็นที่ดินที่คุณพ่อของคุณได้รับมรดกจากคุณปู่เท่านั้น
2. เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิจะยึดที่ดินของคุณแม่ได้ เนื่องจากมิใช่ทรัพย์มรดกที่ได้รับมาจากคุณปู่ อีกทั้งเป็นสินสมรส
3. จะต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดีเนื่องจากทายาทจะรับผิดต่อเจ้าหนี้เจ้ามรดกไม่เกินกว่ามรดกที่ตกทอดแก่ตน สมมติว่า ได้รับมรดกมา 500,000 บาท ก็ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้เพียง 500,000 เท่านั้น
4. แนะนำว่าควรจะต้องมีทนายความเพื่อจะได้ดูแลว่า เจ้าหนี้ฟ้องมาถูกต้องหรือไม่ คิดดอกเบี้ยถูกต้องหรือไม่ ซึ่งจำเป็นจะต้องให้ผู้มีวิชาชีพทางกฎหมายดำเนินการให้
5. ราคาซื้อที่ดินในการขายทอดตลาดไม่เกี่ยวข้องกับราคาประเมินที่ดินของทางราชการ เพราะราคาประเมินที่ดินประเมินเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินเท่านั้น
ส่วนราคาที่คนประมูลซื้อในการขายทอดตลาด อาจจจะสูงกว่าราคาประเมินที่ดินของทางราชการก็ได้ หากทำเลดี แต่ทางราชการประเมินที่ดินไม่สอดคล้องกับราคาที่ดินในท้องตลาด เพราะ 4 ปีปรับราคาประเมินครั้งหนึ่ง

หากขายทอดตลาดแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ เจ้าหนี้จะตรวจสอบว่าคุณพ่อรับมรดกที่ดินแปลงใดบ้าง ก็จะตามยึดทรัพย์ต่อ แต่หากไม่ได้รับมรดกที่ดินเลย เจ้าหนี้ก็ไม่สามารถจะยึดทรัพย์ได้ เจ้าหนี้จะยึดได้เฉพาะทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่คุณพ่อเท่านั้น
ทรัพย์สินอะไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นที่ดิน อาจจะเป็นรถยนต์ หรือปืน ฯลฯ หากเป็นทรัพย์ของคุณปู่เจ้าหนี้มีสิทธิยึดได้ทั้งนั้น แต่จะยึดทรัพย์สินของคุณพ่อคุณที่มิใช่ทรัพย์มรดกไม่ได้
6. ไม่สามารถอายัดเงินเดือนได้ เพราะเป็นเจ้าหนี้ของคุณปู่ มิใช่เจ้าหนี้ของคุณพ่อ

หากยังไม่เข้าใจ สามารถโทร.สอบถามเพิ่มเติมได้นะครับที่ 085-1109377 หากผมติดประชุมจะโทร.กลับครับ
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล ส่งเมล์ถึง วัชรพล วัชรตระกูล [ 2009-06-29 ] ตอบ 87
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.