สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 90 คน
 สถิติเมื่อวาน 52 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4973 คน
26689 คน
2738217 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การเอาโฉนดผู้อื่นไปค้ำประกันการกู้ยืม (ต่อจากคำถามที่ 820)
...ขอบคุณสำหรับการตบคำถาม ผมมีข้อมูลและคำถามเพิ่มเติมดังนี้ครับ
กรณีที่เจ้ามรดกได้โอนที่ดินแปลงใหญ่ให้แก่ผู้รับโอนโดยแบ่งแยกโฉนดออกเป็น 4 แปลง ให้แก่ผู้รับโอนจำนวน 4 รายแล้ว แต่ผู้รับโอนยังมิได้ลงนามรับโอน(โดยมีข้อความว่าโอนให้แก่ผู้รับโอนรายใดในโฉนดแต่ละแปลงไว้)...และภายหลังได้มีการนำโฉนดดังกล่าวที่แบ่งแยกแล้วทั้งหมดไปจำนำเพื่อประกันหนี้ของบุคคลอื่นในฐานะลูกหนี้ร่วม (ได้ตรวจสอบแล้วมิได้มีการจดทะเบียนจำนอง) ขณะนี้เจ้ามรดกเสียชีวิต และผู้ที่ไปกู้ยืม(ไม่ใช่ผู้รับโอน)บ่ายเบี่ยงไม่ยอมชำระหนี้ และเลยกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาแล้ว กรณีนี้
.....1.เจ้าหนี้มีสิทธิยึดที่ดินดังกล่าวได้หรือไม่
.....2 .เนื่องจากเจ้าหนี้ที่ยึดไว้ไม่ยอมให้ตรวจดูเอกสาร และผู้รับโอนยังไม่เคยเห็นโฉนดฉบับจริง (มีแต่คำบอกเล่าของเจ้าหนี้) กรณีนี้ผู้รับโอนจะไปขอตวจสอบ หรือ ขอออกใบแทนที่สำนักงานที่ดินได้หรือไม่
โดย sarat (ip118.173.208.207) อี-เมล์ sarat (ip118.173.208.207) เบอร์โทรศัพท์. sarat IP: xxx [ 2012-11-18 ]

คำตอบจาก Webmaster
เมื่อเจ้ามรดกได้นำโฉนดที่ดินไปจำนำเพื่อประกันหนี้ของบุคคลอื่นในฐานะลูกหนี้ร่วม เจ้าหนี้ชอบที่จะใช้สิทธิทางศาลและยึดที่ดินออกขายทอดตลาด นำเงินมาชำระหนี้ให้แก่ตนเองได้ ผู้รับโอนควรไปขอตรวจสอบที่สำนักงานที่ดิน กรณีมิใช่โฉนดที่ดินสูญหายหรือชำรุดที่จะขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบแทนโฉนดให้ได้
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2012-11-18 ] ตอบ 840
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.