สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 71 คน
 สถิติเมื่อวาน 76 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2536 คน
29327 คน
2740855 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


ทำอย่างไรที่ดินนี้จึงจะกลายมาเป็นของเรา

คือว่านายAได้รับมรดกเป็นที่ดินมาซึ่งติดกับน้องชายชื่อนายB


แล้วนายAก็สร้างบ้านในที่ดินของตัวเอง เรื่องก็มีอยู่ว่า


นายBเอาที่ดินไปเข้าธนาคารซึ่งเป็นที่ดินที่นายAสร้างบ้านไว้


ที่ดินเป็นมรดกจากพ่อของนายAและBแต่ยังไม่ได้แบ่งในทางกฎหมาย


แบบว่ารู้กันในหมู่พี่ๆน้องๆว่าตรงไหนของไคร


ฉะนั้นต้องรอให้นายB ผ่อนแบงค์จนหมดก่อนหรือมีวิธีใดที่นายA จะได้ในส่วนของเขาคืนเพราะตอนแรกลูกนายBคนแรกเอาเข้าแบงค์พอใกล้หมดลูกอีกคนก็ไปเอาเงินเพิ่มอีกแล้วงี้เมื่อไหนนายA จะนอนหลับสนิทซะที ไม่รู้ว่าวันนี้ยังเป็นบ้านของตัวแต่พรุ่งนี้แบงค์จะมายึดไหมถ้าลูกนายBขาดส่ง ขอบคุณล่วงหน้าที่ไขปัญหา มันคาใจครับ

โดย ลูกชายนายA อี-เมล์ ลูกชายนายA เบอร์โทรศัพท์. ลูกชายนายA IP: xxx [ 2009-06-29 ]

คำตอบจาก Webmaster
เรียน ลูกชายนาย A.
ตามที่ถามเข้าใจว่า ที่ดินที่นาย A. ได้รับมรดกมานั้น มีชื่อนาย B. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ นาย B. จึงสามารถนำที่ดินนั้นไปจดทะเบียนจำนองกับธนาคารฯ ได้ การที่จะเอาที่ดินส่วนของนาย A. คืนก็คือจะต้องรอให้นาย B. ผ่อนธนาคารหมดแล้วยื่นคำขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินออกมาเป็นส่วนของนาย A. และโอนให้นาย A. ไป ส่วนอีกวิธีหนึ่ง หากนาย A. ครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวโดยสุจริต เปิดเผยแฃละด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ติดต่อกันมาเป็นเวลาสิบปี มีสิทธิที่จะร้องต่อศาลขอให้ศาลมีคำสั่งให้นาย A. ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ได้ ส่วนจะได้หรือไม่ เป็นดุลยพินิจของศาลที่จะพิจารณาตามพยานหลักฐานครับ
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล ส่งเมล์ถึง วัชรพล วัชรตระกูล [ 2009-06-29 ] ตอบ 89
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.