สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 2 คน
 สถิติเมื่อวาน 73 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
550 คน
27341 คน
2738869 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การขออายัดที่ดิน
พี่ชายแอบนำที่ดินมรดกซึ่งตกสำรวจไปออกโฉนด(เดินสำรวจ)เอง  แล้วขณะนี้จะนำไปขายต่อ เรายังอายัดได้ไหมครับ ขอบคุณครับ
โดย ศุภวิช IP: xxx [ 2013-02-12 ]

คำตอบจาก Webmaster
การอายัดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน หมายความว่า คุณจะต้องมีส่วนได้เสียในที่ดินอันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียน หรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ เช่น เจ้าของที่ดินทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับผู้จะซื้อโดยวางมัดจำกันไว้ ยังไม่ถึงวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมาเป็นของผู้จะซื้อ ต่อมาเจ้าของที่ดินผิดสัญญาเพราะเอาที่ดินไปขายให้บุคคลอื่นเนื่องจากได้ราคาสูงกว่าเช่นนี้ ผู้จะซื้อมีสิทธิที่จะขออายัดตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ เพราะมีส่วนได้เสียที่จะฟ้องบังคับเจ้าของที่ดินให้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงที่ซื้อขายให้กับผู้จะซื้อได้ แต่กรณีของคุณไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะขออายัดตามหลักกฎหมายดังกล่าว ซึ่งการอายัดตามประมวลกฎหมายที่ดินนั้น มีอายุเพียง 30 วัน เพื่อให้ผู้อายัดนำคดีไปฟ้องศาลเท่านั้น

ในส่วนของการอายัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น หมายถึง การฟ้องคดีและขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดที่ดินแปลงดังกล่าว ซึ่งคุณอาจใช้สิทธิอายัดที่ดินแปลงนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้ แต่อย่างไรก็ดี หากปรากฏข้อเท็จจริงว่า หากผู้ซื้อที่ดินจากพี่ชายคุณได้ซื้อที่ดินโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว แม้คุณจะฟ้องคดีและขออายัดที่ดินได้ แต่ในท้ายที่สุดก็จะต้องแพ้คดี



โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2013-02-12 ] ตอบ 874
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.