สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 54 คน
 สถิติเมื่อวาน 52 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4937 คน
26653 คน
2738181 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การออกโฉนดใบแทนใบเก่า

เจ้าของที่ดินแจ้งกับสำนักที่ดินโดยแจ้งว่าโฉนดใบเก่าหายทั้งที่ความจริงได้นำไปค้ำ

ประกันเงินกู้ของบุตร ต่อมาเจ้าของเงินกู้ทราบความจึงติดต่อเจ้าหน้่าที่ที่่ดิน หน.ที่ดินแจ้งว่ายกเลิกใบแทนไม่ได้ และโฉนดใบเก่าที่เจ้าหนี้ถือครองไว้ก็ไม่มีความหมายเนื่อง

จากใบแทนมีค่าแทนที่ใบโฉนดใบเก่า

โดย ผู้ไม่ทราบกฏหมายที่ดิน (ip118.172.187.12) อี-เมล์ ผู้ไม่ทราบกฏหมายที่ดิน (ip118.172.187.12) เบอร์โทรศัพท์. ผู้ไม่ทราบกฏหมายที่ดิน IP: xxx [ 2013-05-12 ]

คำตอบจาก Webmaster
ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 63 วรรค 2 บัญญัติว่า "เมื่อได้ออกใบแทนไปแล้ว โฉนดที่ดินเดิมเป็นอันยกเลิก เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น" ดังนั้นตามที่เจ้าหน้าที่ที่ดินแจ้งคุณมาจึงถูกต้องแล้ว ทางแก้ในกรณีเช่นนี้ก็คือ ควรใช้สิทธิทางศาลโดยการฟ้องเจ้าของที่ดินฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา เพื่อบีบให้นำเงินมาคืนให้คุณ โดยการว่าจ้างทนายความฟ้องร้องดำเนินคดีเอง เมื่อเขานำเงินมาคืนคุณ ๆ ก็สามารถที่จะถอนฟ้องได้ แต่ถ้าแจ้งความต่อตำรวจแล้ว จะไม่สามารถถอนแจ้งความได้เพราะมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว ตำรวจก็จะดำเนินคดีส่งตัวเจ้าของที่ดินฟ้องศาล และศาลก็จะสั่งจำคุก เนื่องจากเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 และ 267 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 (คำพิพากษาฎีกาที่ 2093/2542)
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2013-05-13 ] ตอบ 915
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.