สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 72 คน
 สถิติเมื่อวาน 81 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
547 คน
27338 คน
2738866 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายส่วนกลาง หลังจากจัดตั้งนิติบุคคล(หมู่บ้านจัดสรร)แล้ว
ลูกบ้านซื้อบ้านจากผู้จัดสรร โดยตกลงกันชำระค่าส่วนกลางที่ราคา 25 บาท ต่อมาเมื่อผู้จัดสรรสามารถปิดโครงการได้ มีการเรียกประชุมเพื่อจัดตั้งนิติบุคคลฯโดยลูกบ้านทราบข้อมูล ณ วันประชุมเพียงแค่ หากไม่มีการตั้งนิติบุคคลฯ จะมีการโอนสาธารณูปโภคและอื่นๆให้กับหน่วยงานของรัฐ จึงได้มีมติแต่งตั้งนิติบุคคลฯและดำเนินการจดทะเบียนเรียบร้อย ทั้งที่ไม่ได้รับข้อมูลด้านรายรับ รายจ่ายที่เกี่ยวกับการดูแลส่วนกลางต่างๆ

ปัญหา คือ เมื่อจัดตั้งนิติบุคคลฯแล้ว แต่ยังไม่สามารถรับโอนสาธารณูปโภคและอื่นๆอีกบางส่วน แต่คณะกรรมการนิติบุคคลได้รับทราบว่า ผลจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ หากต้องการรักษาระดับความปลอดภัยให้คงเดิมในแง่จำนวนยามรักษาการและเจ้าหน้าที่ดูแลพื้นที่ สวนหย่อม คลับเฮ้าส์อื่นๆ จะต้องเรียกเก็บค่าส่วนกลางเพิ่มขึ้นเป็น 35-40 บาท (เนื่องจากโครงการนี้มีจำนวนจัดสรรน้อยกว่าที่อื่นๆ คือน้อยกว่า 200หลังคา จึงทำให้ค่าใช้จ่ายต่อพื้นที่สูงกว่าโครงการอื่นโดยทั่วไป)

คำถาม - การปกปิดข้อมูล ไม่เปิดเผยข้อมูลที่ควรเปิดเผย แต่กลับเร่งรัดให้มีการตั้งนิติบุคคลฯ ลูกบ้านสามารถดำเนินการอะไรได้บ้าง และจะสามารถเรียกร้องให้ผู้จัดสรรมีส่วนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนไหนได้บ้าง

หมายเหตุ - การเจรจาต่อรองระหว่างคณะกรรมการนิติบุคคล และผู้จัดสรรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอด แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง และบ่ายเบี่ยง ซึ่งสะท้อนความไม่จริงใจต่อลูกบ้าน
โดย อมรพรรณ สมสวัสดิ์ (ip101.108.36.209) อี-เมล์ อมรพรรณ สมสวัสดิ์ (ip101.108.36.209) เบอร์โทรศัพท์. อมรพรรณ สมสวัสดิ์ IP: xxx [ 2013-05-16 ]

คำตอบจาก Webmaster

ตามกฎหมายจัดสรร เมื่อผู้จัดสรรแจ้งให้ผู้ซื้อจัดตั้งนิติบุคคลจัดสรรแล้ว หากผู้ซื้อไม่สามารถจะประชุมกันลงมติให้จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้ ผู้จัดสรรจะต้อง


(1) ดำเนินการยื่นเรื่องขออนุมัติต่อคณะกรรมการจัดสรรที่ดินว่า จะดูแลรักษาสาธารณูปโภคอย่างไร จะจัดเก็บค่าใช้จ่ายจากลูกบ้านอย่างไร


(2) ในกรณีที่คณะกรรมการฯ ไม่อนุมัติ ผู้จัดสรรจะต้องขออนุมัติโอนที่ดินแปลงสาธารณูปโภคให้เป็นที่สาธารณะประโยชน์ได้


โดยจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนข้างต้นเรียงลำดับไป การที่แจ้งลูกบ้านว่า หากไม่มีการจัดตั้งนิติบุคคลจะโอนเป็นสาธารณูปโภคให้กับหน่วยงานของรัฐ จึงเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง แต่การจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้ ก็ดีแล้วครับ เพราะหากยกเป็นถนนสาธารณะประโยชน์แล้ว คนที่ไม่อยู่ในโครงการจัดสรรก็มีสิทธิที่จะเข้ามาใช้ถนนในโครงการได้ ทำให้ขาดความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวไป


เมื่อจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้ว หากผู้จัดสรรยังไม่สามารถโอนสาธารณูปโภคให้กับนิติฯ ได้ หน้าที่ในการดูแลรักษาสาธารณูปโภคก็ยังคงอยู่กับผู้จัดสรรที่ดิน หากมีเด็กตกท่อระบายน้ำเสียชีวิต ผู้จัดสรรที่ดินยังคงต้องรับผิดชอบอยู่


ปกติ ในการประชุมจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ที่ประชุมจะต้องพิจารณาอนุมัติข้อบังคับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรด้วย ซึ่งในข้อบังคับฯ จะต้องระบุว่า จะจัดเก็บค่าส่วนกลางจากลูกบ้านอย่างไร คณะกรรมการฯ ไม่มีอำนาจที่จะขึ้นค่าส่วนกลางได้


ต่อกรณีที่ถาม การที่ผู้จัดสรรที่ดินปกปิดข้อมูล ไม่เปิดเผยข้อมูลที่ควรเปิดเผย แต่กลับเร่งรัดให้มีการตั้งนิติบุคคลจัดสรรฯ นั้น เห็นว่า ตามกฎหมายจัดสรร การจะจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้จะต้องมีลูกบ้านมาประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนแปลงย่อยในโครงการจัดสรร เมื่อลูกบ้านมาประชุมเกินครึ่งหนึ่งของจำนวนแปลงย่อยในโครงการและลงมติให้จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้ว จึงจะนำมตินั้นไปจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้  เมื่อขั้นตอนตามกฎหมายเป็นเช่นนี้จะเห็นว่า แม้ผู้จัดสรรที่ดินจะปกปิดข้อมูลอย่างไรก็ตาม หากลูกบ้านเสียงส่วนใหญ่ลงมติ ให้จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้ว นิติฯ ก็เกิดขึ้นได้ ในทางกลับกัน แม้ผู้จัดสรรจะเปิดเผยข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่ถ้าลูกบ้านเสียงส่วนใหญ่ลงมติไม่จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้ว นิติบุคคลฯ ก็เกิดขึ้นไม่ได้ จะเห็นได้ว่า การจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจะจัดตั้งได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับมติที่ประชุมใหญ่ของลูกบ้าน ผู้จัดสรรที่ดินไม่มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใดทั้งสิ้น


เมื่อจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้ว ผู้จัดสรรจะต้องโอนเงินให้กับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 7 ของค่าจัดทำสาธารณูปโภคในโครงการจัดสรร ซึ่งจะเท่ากับยอดเงินค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคในโครงการนั่นเอง ซึ่งหากผู้จัดสรรไม่โอนเงินให้นิติฯ ๆ ก็สามารถใช้สิทธิทางศาลฟ้องบังคับได้


การเจรจาระหว่างคณะกรรมการนิติฯ และผู้จัดสรรไม่ได้รับการตอบสนองและบ่ายเบี่ยงนั้น เห็นว่า ควรมีที่ปรึกษาในการดำเนินการเพื่อที่คณะกรรมการฯ จะได้เดินในแนวทางที่สอดคล้องกับกฎหมาย ซึ่งอาจจะปรึกษากับเจ้าหน้าที่ที่ดินในเขตพื้นที่ได้

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2013-05-16 ] ตอบ 922
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.