สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 46 คน
 สถิติเมื่อวาน 93 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4823 คน
26539 คน
2738067 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การชำระเงินกองทุนนิติบุคคลอาคารชุด
ขอถามครับ :
1.ผู้ที่ต้องชำระเงินกองทุนดังกล่าวต้องเป็นผู้ที่ซื้อห้องชุดจากโครงการใช่หรือไม่
2.หากเป็นมือที่2 หรือ3 มาซื้อต่อ จะต้องชำระกองทุนดังกล่าวอีกหรือไม่
3.อัตรตราการเก็บนั้น คือ1%จากราคาขายใช่หรือไม่
โดย เก่ง (ip115.87.111.44) อี-เมล์ เก่ง (ip115.87.111.44) เบอร์โทรศัพท์. เก่ง IP: xxx [ 2013-07-31 ]

คำตอบจาก Webmaster

ข้อ 1. คำว่า "เงินทุนนิติบุคคลอาคารชุด"  หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "เงินกองทุน" นั้นตามกฎหมายอาคารชุดมาตรา 40 บัญญัติให้เจ้าของร่วมชำระเงินให้แก่นิติบุคคลอาคารชุดเพื่อดำเนินกิจการของนิติบุคคลอาคารชุด ดังต่อไปนี้


(1) เงินค่าใช้จ่ายของนิติบุคคลอาคารชุดที่เจ้าของแต่ละห้องชุดจะต้องชำระล่วงหน้า


(2) เงินทุนเมื่อเริ่มต้นกระทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อบังคับ หรือตามมติที่ประชุมใหญ่


                                                                                                                (3) เงินอื่นเพื่อปฏิบัติตามมติของที่ประชุมใหญ่ภายใต้เงื่อนไขซึ่งที่ประชุมใหญ่กำหนด


ทางปฏิบัติ เจ้าของโครงการมักจะระบุในสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดให้ผู้ซื้อห้องชุดชำระเงินกองทุนส่วนกลางโดยชำระครั้งเดียวในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด เช่น ตารางเมตรละ 500 บาท เป็นต้น (เป็นเงินกองทุนตามมาตรา 40) เงินอีกส่วนหนึ่งที่มักจะระบุไว้ในสัญญาคือ เงินค่าใช้จ่ายส่วนกลางตารางเมตรละ 25-30 บาท โดยชำระล่วงหน้า 1 ปี ในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด เมื่อครบกำหนด 1 ปีแล้ว ก็จะเรียกเก็บอีก เงินค่าใช้จ่ายส่วนกลางนี้ถือเป็นเงินค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18


ซึ่งในการจดทะเบียนโอนขายห้องชุด พนักงานเจ้าหน้าที่จะรับจดทะเบียนได้เมื่อห้องชุดดังกล่าวปลอดจากหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 โดยต้องมีหนังสือรับรองการปลอดหนี้จากนิติบุคคลอาคารชุดมาแสดงตามมาตรา 29 วรรค 3 นั่นหมายความว่า ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดจะต้องออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ให้แก่เจ้าของร่วมเมื่อเจ้าของร่วมได้ชำระหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 ครบถ้วนแล้ว โดยต้องออกภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ กฎหมายหาได้บัญญัติถึงเงินกองทุนแต่อย่างใดไม่ จึงแปลความได้ว่า แม้เจ้าของร่วมจะค้างชำระเงินกองทุนส่วนกลางตามมาตรา 40  แต่ไม่ได้ค้างชำระหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 แล้ว ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดจะต้องออกใบปลอดหนี้ให้


ข้อ 2. หากเป็นมือที่ 2 หรือ 3 มาซื้อต่อ จะต้องชำระเงินกองทุนดังกล่าวหรือไม่  ข้อนี้เห็นว่า หากข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งเปรียบเหมือนรัฐธรรมนูญที่ใช้บังคับในอาคารชุดนั้นระบุไว้ดังกล่าว ผู้ซื้อมือที่ 2 หรือที่ 3 ก็จะต้องชำระเงินเข้ากองทุน เพราะกฎหมายอาคารชุดไม่ได้ห้ามไว้ว่า จะเขียนข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดในลักษณะดังกล่าวไม่ได้ เมื่อข้อบังคึับฯ ดังกล่าวไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ข้อบังคับฯ นั้นย่อมใช้บังคับได้


ข้อ 3. อัตราการเก็บนั้น ไม่ได้คิดจาก 1% ของราคาขาย แต่คิดจากความเหมาะสม อาทิ เจ้าของโครงการอยากจะขายง่าย ก็เรียกเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลางตามมาตรา 18 เพียงเล็กน้อย เช่น ตารางเมตรละ 10 บาท แต่เรียกเก็บเงินกองทุนส่วนกลางตารางเมตรละ 200 บาท เป็นต้น เพราะเงินส่วนกลางชำระครั้งเดียว พอขายหมด จดนิติฯ แล้ว พอเงินค่าใช้จ่ายส่วนกลางตามมาตรา 18 ไม่พอ ก็จะดึงเงินกองทุนตามมาตรา 40 มาใช้ เป็นต้น กฎหมายไม่ได้บัญญัติถึงหลักเกณฑ์การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 หรือเงินกองทุนตามมาตรา 40 ไว้แต่อย่างใด แต่บางโครงการที่คนมีเงินซื้อ ก็อาจจะเก็บค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 ให้เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน และเรียกเก็บเงินกองทุนในตารางเมตรแพง ๆ  เพื่อให้นิติบุคคลอาคารชุดนั้นสามารถนำเงินกองทุนไปซ่อมแซมอาคารชุดในกรณีจำเป็นได้





 

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2013-07-31 ] ตอบ 947
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.