สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 1 คน
 สถิติเมื่อวาน 52 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4883 คน
26599 คน
2738127 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การจัดสาธาณูปโภค ในกรณีที่ผู้ขายแบ่งขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง แต่ไม่ได้ไปจดทะเบียนจัดสรรทีี่่ดิน
ในกรณีที่ผู้ขายแบ่งขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง(ที่ดินมีเนื้อที่ติดกันทั้งหมด)โดยไม่ได้ไปจดทะเบียนจัดสรรที่ดิน จำนวน12 แปลงสามารถทำได้หรือไม่ และในกรญีดังกล่าวได้มีการทำสัญญาจะซื้อจะขาย แต่ในสัญญาดังกล่าวไม่ได้ระบุในเรื่องของการจัดสาธาณูปโภคไว้ อยากทราบว่าในเรื่องการจัดสาธาณูปโภคฝ่ายใดจะต้องมีหน้าที่เสียค่าใช่จ่าย และหากกรณีมีการจดทะเบียนโดยได้รับใบอนุญาติจัดสรรที่ดินถูกต้องตามกฏหมายแล้ว ฝ่ายใดเป็นผู้มีหน้าที่เสียค่าใช้จ่ายในส่วนสาธาณูปโภค(ในสัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้กำหนดในเรื่องนี้ไว้) ขอตัวบทกฏหมายอ้างอิงด้วยค่ะ
โดย hring (ip61.19.201.18) อี-เมล์ hring (ip61.19.201.18) เบอร์โทรศัพท์. hring IP: xxx [ 2013-07-31 ]

คำตอบจาก Webmaster

ตามกฎหมายจัดสรรที่ดินไม่สามารถทำได้เพราะเกิน 9 แปลง  แต่กรณีนี้ผู้ขายทำการขายแบบเลี่ยงกฎหมายจัดสรร ซึ่งเป็นวิธีเดิม ๆ ที่ใช้กันมาตลอดกล่าวคือ ขายโดยให้ผู้ซื้อโอนชื่อเข้าไปในโฉนดที่ดินแปลงที่ซื้อขายจนครบ 12 แปลง หลังจากนั้นผู้ขายก็จะรับมอบอำนาจจากผู้ซื้อในการยื่นคำขอรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์รวม เพื่อจะได้โฉนดแปลงย่อยจำนวน 12 แปลง


ปกติในการขออนุญาตจัดสรรที่ดินโดยถูกต้องตามกฎหมาย ผู้ขายมีหน้าที่ในการจัดทำสาธารณูปโภคในที่ดินตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543  เมื่อผู้ขายเลี่ยงการขออนุญาตจัดสรรที่ดิน การซื้อขายที่ดินดังกล่าวจึงไม่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองของกฎหมายจัดสรร ดังนั้น จึงต้องมาพิจารณาสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างคู่สัญญา เมื่อผู้ขายไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญาว่า ผู้ขายมีหน้าที่ต้องทำสาธารณูปโภคในที่ดินแปลงที่ซื้อขาย ถือได้ว่า ผู้ขายไม่มีหน้าที่ตามสัญญาที่จะต้องกระทำ ส่วนใครจะเป็นผู้จัดทำในสัญญาฯ ก็ไม่ได้ตกลงกันไว้อีก ในชั้นนี้ จึงตอบไม่ได้ว่า ใครมีหน้าที่ในการจัดทำสาธารณูปโภค จะว่าร่วมกันจัดทำก็ไม่ใช่ เพราะไม่ได้ระบุในสัญญาไว้เช่นนั้น คงจะต้องพิจารณาเอกสารประกอบการขายอื่น ๆ ซึ่งเป็นคำเสนอขายที่ดิน หากผู้ขายระบุไว้ในเอกสารประกอบการขายว่าจะจัดให้มีสาธารณูปโภค แม้ไม่ได้ระบุไว้ในสัญญา ผู้ขายก็มีหน้าที่ต้องทำ 

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2013-08-01 ] ตอบ 948
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.