สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 46 คน
 สถิติเมื่อวาน 81 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
521 คน
27312 คน
2738840 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การจดหลังโฉนด
ขอสอบถามเกี่ยวการแบ่งที่ดินมรดกค่ะ คือที่ดินเป็นของยายจำนวน 101 ตรวา เมื่อยายเสียชีวิตศาลได้มีคำสั่งประนีประนอมให้ผูเจัดการมรดกแบ่งให้ดิฉันซึ่งเป็นหลาน จำนวน 30 ตร วา นอกนั้นให้หารลูก 5 คนเท่าๆกัน ผู้จัดการมรดกได้ยื่นเรื่องขอรังวัด แต่ไม่สามารถรังวัดปักหมุดได้เนื่องจากยังไม่ได้ถมในส่วนที่เป็นน้ำ ทางทนายของผู้จัดการมรดก จึงนัดดิฉันไปจดกรรมสิทธิ์หลังโฉนด ดิฉันอยากทราบว่า การจดกรรมสิทธิ์ของโฉนดมีความสำคัญทางกฎหมายในด้านความเป็นเจ้าของที่ดินส่วนนั้นมากน้อยเพียงใด สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงโดยผู้จัดการมรดกโดยที่ตัวดิฉันไม่รับทราบได้หรือไม่ และการจดกรรมสิทธิ์หลังโฉนดนั้น สามารถระบุพื้นที่และตำแหน่งของเจ้าของได้เลยหรอไม่ (ทั้งๆที่ยังไม่มีการรังวัด) และมีค่าใช้จ่ายอย่างไรบ้าง รบกวนช่วยตอบด้วยนะคะ เนื่องจากทนายฝ่ายนั้นจะนัดไปจดกรรมสิทธิ์หลังโฉนดในอาทิตย์หน้าแล้ว ดิฉันกลัวเสียสิทธิ์ เนื่องจากไม่มีการแบ่งออกเป็นโฉนดจริงๆ จึงไม่ไว้ใจ และการจดกรรมสิทธิ์นี้ถือว่าเราเป็นเจ้าของที่ดินนี้แล้วหรือยังคะ
โดย ธาริณี (ip124.121.33.247) อี-เมล์ ธาริณี (ip124.121.33.247) เบอร์โทรศัพท์. ธาริณี IP: xxx [ 2013-08-26 ]

คำตอบจาก Webmaster

-การไปจดกรรมสิทธิ์หลังโฉนด ก็คือ การไปจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินนั่นเอง คือ การที่ผู้จัดการมรดกทำการจดทะเบียนโอนมรดกที่ดินของยายให้กับคุณจำนวน 30 ตารางวาจากที่ดินทั้งหมด 101 ตารางวา มีความสำคัญทางกฎหมายในด้านความเป็นเจ้าของที่ดินมาก เพราะเมื่อจดทะเบียนโอนมรดกแล้ว คุณจะมีชื่ออยู่หลังโฉนดที่ดินในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงนั้นจำนวน 30 ตารางวา ผู้จัดการมรดกไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงโดยที่คุณไม่รับทราบไม่ได้ เพราะการโอนมรดกจะต้องมีผู้รับโอนมรดก พนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะจดทะเบียนให้ได้ และเมื่อผู้จัดการมรดกโอนมรดกที่ดินส่วนที่เหลือจำนวน 71 ตารางวาให้กับลูก ๆ อีก 5 คน ๆ ละเท่า ๆ กันให้ลูกทั้ง 5 คนเรียบร้อยแล้ว มีผลเท่ากับว่า คุณถือกรรมสิทธิ์ที่ดินมรดกจำนวน 30 ตารางวา ลูก 5 คนถือกรรมสิทธิ์ที่ดินคนละ 14.2 ตารางวา โดยกรรมสิทธิ์ที่ดินที่แต่ละคนถือนั้น จะถือถือกรรมสิทธิ์รวมกันอยู่ในที่ดินแปลงนั้น จนกว่า คุณและลูก ๆ อีก 5 คนจะทำ "บันทึกข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวม" คือ ตกลงกันว่า ของคุณ 30 ตารางวาอยู่บริเวณใด ตำแหน่งใดของที่ดิน ของลูก ๆ 5 คน จำนวน 71 ตารางวานั้นอยู่บริเวณใด ตำแหน่งใดของที่ดิน หากตกลงกันได้ ก็ค่อยยื่นขอรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน (แบ่งโฉนดออกเป็น 2 ใบ ๆ หนึ่งเป็นของคุณจำนวน 30 ตารางวา อีกใบหนึ่งเป็นของลูก 5 คนถือกรรมสิทธิ์รวมกัีนจำนวน 71 ตารางวา หรืออาจจะแบ่งเป็น 5 ใบ ๆ ละ 14.2 ตารางวาก็สุดแท้แต่จะแบ่ง  หรือจะทำบันทึกข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมให้ปรากฏในสารบบที่ดินแปลงนั้น โดยไม่ต้องทำการรังวัดแบ่งแยกก็ได้ แต่หากไม่แบ่งก็จะมีปัญหาว่า ใครจะเก็บรักษาโฉนด เพราะหากลูก ๆ 5 คนเก็บรักษา เขาอาจจะนำไปเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินและจดทะเบียนจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของเขาก็ได้ แต่หากไม่สามารถตกลงตำแหน่งที่ดินได้ คุณและลูก ๆ 5 คนก็จะถือกรรมสิทธิ์รวมอยู่ในโฉนดที่ดินแปลงนั้นอยู่อย่างนั้น เพราะตกลงตำแหน่งที่ดินกันไม่ได้ ก็จะขอรังวัดแบ่งแยกโฉนดไม่ได้ ทางที่ดีควรแบ่งดีกว่าจะได้ไม่เกิดปัญหาในวันข้างหน้า


ค่าใช้จ่ายในการรับโอนมรดกบางส่วน ก็คือ ค่าธรรมเนียมร้อยละ 0.5 ของราคาประเมินที่ดินที่ทางราชการประเมินไว้ เฉพาะ 30 ตรว.ที่คุณรับมรดก ค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ไม่เสีย ค่าอากร ไม่เสีย ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะไม่เสีย


การจดทะเบียนรับโอนมรดกนี้ เมื่อคุณมีชื่ออยู่ด้านหลังโฉนดแล้ว คุณก็จะถือกรรมสิทธิ์อยู่ในที่ดินแปลงนั้น จำนวน 30 ตารางวาจากทั้งหมด 101 ตารางวา  แต่หากไม่ไป ผู้จัดการมรดกอาจจะโอนขายให้กับบุคคลอื่นก็ได้ โดยคุณก็จะต้องมาดำเนินคดีกับผู้จัดการมรดกในภายหลัง รีบไปรับโอนมรดกเลยครับ ส่วนจะแบ่งที่ดินออกเป็นโฉนดได้หรือไม่ ได้เรียนให้ทราบข้างต้นแล้ว


ข้อสำคัญ ต้องถามเจ้าหน้าที่ให้แน่ใจเสียก่อนว่า จดทะเบียนรับโอนมรดกบางส่วนแล้ว คุณจะถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินแปลงนี้ จำนวน 30 ส่วน (ตารางวา) จาก 101 ส่วน (ตารางวา) ใช่หรือไม่ ถ้าใช่ ก็จดทะเบียนรับโอนมรดกเลย ไม่ใช่เข้าไปถือรวมกับลูก ๆ ทั้ง 5 คนโดยไม่กำหนดจำนวนตารางวาให้กับคุณ  เพราะหากเป็นเช่นนั้น แทนที่คุณจะได้รับมรดกที่ดินจำนวน 30 ตารางวา ก็จะเหลือเพียง 16.83 ตารางวาเท่ากับลูก ๆ อีก 5 คน

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2013-08-26 ] ตอบ 959
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.