สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 98 คน
 สถิติเมื่อวาน 52 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4981 คน
26697 คน
2738225 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


อยากเปลี่ยนกรรมสิทธื์ แต่คงสถานะการกู้ร่วม

ตอนนี้มีหนี้กับธนาคารม่วง เป็นการกู้ร่วมโดยใส่ชื่อผู้กู้ทุกคนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม วันนี้ทางสามีอยากโอนกรรมสิทธิ์ ใหกับทางภรรยาคนเดียว -ไม่ได้จดทะเบียนสมรส- 


อยากทราบว่า 


   1. หากต้องการดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ดังกล่าวจริง จะมีค่าใช้จ่ายธุรกรรมที่สนง.ที่ดิน อย่างไรบ้างค่ะ     และ


   2. กรณีที่อนาคตหากมีคดีความทางธุรกิจได้เกิดขึ้นกับทางสามี  ทางเจ้าหนี้สามี     จะยังมีสิทธิ์/สามารถเรียกร้อง/บังคับขาย บ้านหลังนี้ที่อาจจะยังเป็นหนี้ร่วมกันกับธนาคารสีม่วงได้หรือไม่ค่ะ และ


3. หรือปัจจุบันเราควรปลดบ้านให้เป็นสถานะปลอดภาะหนี้ก่อนดีไหมค่ะ แล้วค่อยดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ และกรณีนี้หากมีคดีความเกิดขึ้นเช่นกันเหมือนข้อ 2 เจ้าหนี้ ยังคงมีสิทธิ์  เรียกร้อง/บังคับขาย ได้ไหมค่ะ


 ตอนนี้สับสนมาก รบกวนขอความกระจ่างให้ด้วยนะค่ะ ขอบคุณมากค่ะ  


 

โดย คิตตี้ (ip119.46.163.130) อี-เมล์ คิตตี้  (ip119.46.163.130) เบอร์โทรศัพท์. คิตตี้ IP: xxx [ 2013-09-26 ]

คำตอบจาก Webmaster

1. ค่าใช้จ่ายโอนตามปกติเหมือนคนธรรมดาทั่วไปซื้อขายกัน เพราะไม่ได้จดทะเบียนสมรส ได้แก่ ค่าธรรมเนียมโอน 2% ของราคาประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ทางราชการกำหนด ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายโดยมีฐานจากราคาประเมิน ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะร้อยละ 3.3 ของราคาขายหรือราคาประเมินแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่า กรณีถือครองเกิน 5 ปีหรือมีชื่อในทะเบียนบ้านในฐานะเจ้าบ้านเกิน 1 ปี ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะไม่ต้องเสีย แต่จะต้องมาเสียค่าอากรแสตมป์ร้อยละ 0.5 แทน


2.หากสามี (ไม่จดทะเบียน) ขายให้ภรรยา (ไม่จดทะเบียน) ที่ดินส่วนของสามี (ไม่จดทะเบียน) จึงเป็นสินส่วนตัวของสามี (ไม่จดทะเบียน) เพราะมีอยู่ก่อนจดทะเบียนสมรส เมื่อขายให้ภรรยา (ไม่จดทะเบียน) แล้ว ย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิจะยึดที่ดินและบ้านส่วนของสามี (ไม่จดทะเบียน) ได้ เพราะไม่ีใช่ทรัพย์สินของลูกหนี้  กรณียังเป็นหนี้ร่วมกันอยู่นี้ ส่วนใหญ่ธนาคารฯ จะไม่ยอมให้ขาย (ระหว่างจำนอง) เพราะมีข้อยุ่งยากทางกฎหมายในการบังคับจำนอง


3. ไม่จำเป็นต้องปลอดภาระหนี้บ้าน หากธนาคารฯ ยินยอมให้ขาย และธนาคารฯ พิจารณาเครดิตคุณแล้วสามารถแบกรับภาระหนี้คนเดียวได้ ธนาคารฯ ก็จะยินยอมให้ขายโดยหนี้ค่าบ้านทั้งหมดจะมาอยู่ที่คุณเพียงคนเดียว เมื่อเป็นกรรมสิทธิ์ของคุณแล้ว เจ้าหนี้ของสามีก็ไม่มีสิทธิจะมายึดบ้านของคุณได้เพราะมิใช่กรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ (สามีไม่จดทะเบียน) อีกต่อไปแล้ว


แต่ราคาที่สามี (ไม่จดทะเบียน) ขายที่ดินและบ้านเฉพาะส่วนของเขาให้กับคุณ ควรเป็นราคาซื้อขายกันในท้องตลาด เพราะหากขายกันในราคาต่ำ ๆ เจ้าหนี้อาจจะฟ้องสามีคุณเป็นคดีอาญาฐานฉ้อโกงเจ้าหนี้ได้

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2013-09-26 ] ตอบ 982
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.